วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

กฎหมายและจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ


กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ

            ถึงแม้ว่าในปัจจุบันบางประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีกฎหมายควบคุมสื่ออินเทอร์เน็ต ก็ยังไม่สามารถควบคุมภัยล่อลวงต่าง ๆ จากสื่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างเด็ดขาดเต็มที่โดยเฉพาะควบคุมดูแลการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารบนสื่ออินเทอร์เน็ตนั้นก็ยังเป็นปัญหา โดยเฉพาะการเผยแพร่สื่อสารลามกหรือบ่อนการพนัน
ซึ่งปัญหาดังกล่าว นอกจากจะเกี่ยวข้องกับสิทธิส่วนบุคคลในการเข้าถึงข้อมูล การก้าวก่ายสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชน ยังอาจจะขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศอีกด้วย อีกทั้งลักษณะพิเศษของข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  เป็นเครือข่ายที่มีลักษณะเป็นใยแมงมุม  ซึ่งระบบกระจายความรับผิดชอบไม่มีศูนย์กลางของระบบ และเป็นเครือข่ายข้อมูลระดับโลกยากต่อการควบคุม และเป็นสื่อที่ไม่มีตัวตน หรือแหล่งที่มาที่ชัดเจน ทั้งผู้ส่งข้อมูล หรือผู้รับข้อมูล
             ดังนั้นกฎหมายที่จะมากำกับดูแล หรือควบคุมสื่ออินเทอร์เน็ต จะต้องเป็นกฎหมายลักษณะพิเศษ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล  แต่ความแตกต่างในระบบการเมือง สังคม และวัฒนธรรม ในแต่ละ
ประเทศยังเป็นปัญหาอุปสรรค  ในการร่างกฎหมายดังกล่าวซึ่งปัจจุบันยังไม่ปรากฏผลเป็นกฎหมายยังคงอยู่ในระยะที่กำลังสร้างกฎเกณฑ์กติกาขึ้นมากำกับบริการอินเทอร์เน็ต

ประเทศไทยกับการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
            กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทยเริ่มวันที่ 15 ธันวาคม 2541 โดยคณะ กรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติเรียก (กทสช) ได้ทำการศึกษาและยกร่างกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ฉบับ ได้แก่
                1. กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transactions Law) 
                        
เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่าง ๆ ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทำขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่าเทียมกับนิติสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่จัดทำขึ้นให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้งการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
                2.
 กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law)
                        
เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใด ๆ ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และกำหนดให้มีการกำกับดูแลการให้บริการ เกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้ บริการอื่น ที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
                3. กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน (National Information Infrastructure Law) 
                        
เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่น ๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน สำคัญในการพัฒนาสังคม และชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 ในการกระจายสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน และนับเป็นกลไกสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเองพัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญา และการเรียนรู้
                4.
 กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)
                           
เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกประมวลผล เปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ
                5. กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)
                           
เพื่อกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย  ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม
                6. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law)
                          เพื่อกำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็นการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบการทำธุรกรรมทางการเงิน และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น

 

จริยธรรมกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

จริยธรรม (Ethics) หมายถึง หลักของความถูกและความผิดที่บุคคลใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ จริยธรรมมีบทบาทในการช่วยลดปัญหาอันเกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทางที่ไม่ถูกต้องไม่สมควร และไม่ครอบคลุมโดยกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มี 4 ประเด็น ได้แก่
1.   ประเด็นความเป็นส่วนตัว (Privacy) เกี่ยวข้องกับข้อมูลสารสนเทศส่วนบุคคล โดยทั่วไปความเป็นส่วนตัวคือ สิทธิที่อยู่ตามลำพัง สิทธิที่เป็นอิสระจากการถูกรบกวนโดยไม่มีเหตุอันควร ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลสารสนเทศ คือ สิทธิในการตัดสินใจว่าเมื่อใดที่ข้อมูลสารสนเทศของบุคคลใดบุคคลหนึ่งจะสามารถเปิดเผยกับผู้อื่นได้ และภายใต้ขอบเขตอย่างไร อย่างไรก็ดี สิทธิในความเป็นส่วนตัวของบุคคลมักจะขัดแย้งกับความมั่นคงปลอดภัยของสังคมในภาพรวม ดังนั้นสิทธิส่วนบุคคลจึงจะต้องอยู่ภายใต้สิทธิของสาธารณชน
2.   ประเด็นความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) เกี่ยวข้องกับวิธีการเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลส่วนตัวของปัจเจกบุคคลมที่ถูกเก็บไว้มีความถูกต้องแม่นยำและมีความทันสมัยอยู่เสมอ
3.   ประเด็นของความเป็นเจ้าของ (Property) สิทธิในความเป็นเจ้าของเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศส่วนใหญ่จะเป็นทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจับต้องไม่ได้ แต่ถูกล่วงละเมิดได้ง่าย เช่น คัดลอก ทำซ้ำ ผลงานต่างๆ เหล่านั้น ทรัพย์สินทางปัญญาเหล่านี้ได้รับการคุ้มครองโดยพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 และพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522
ประเด็นของความเข้าถึงได้ (Accessibility) เกี่ยวข้องกับสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศต่างๆ และการจ่ายค่าธรรมเนียมเพื่อได้รับสิทธิในการเข้าถึงสารสนเทศและนำไปใช้งานตามวัตถุประสงค์ 




กฎหมายและจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

จริยธรรม
คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์มากยิ่งขึ้นเนื่องจากคอมพิวเตอร์มีความสามารในการจัดเก็บข้อมูล ประมวลผลสารสนเทศ และเป็นเครื่องมือการสือสารที่รวดเร็ว ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน โรงเรียน และหน่วยงานธุรกิจมีประสิทธิภาพสูงขึ้น คาดการณ์กันไว้ว่า ใน 2-3 ปีข้างหน้าความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะมีการพัฒนา ในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์ ซอร์ฟแวร์ การสื่อสารและเครือข่ายแบบไร้สาย และครือข่ายเคลื่อนที่ตลอดจนเทคโนโลยี ด้านหุ่นยนต์มนุษย์ได้คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องทั้งนี้เพื่อจะได้นำอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีเหล่านั้นมาช่วยอำนวนความสะดวก ลดขั้นตอนการทำงาน ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต หรือแม้แต่การช่วยชีวิตมนุษย์ เช่น การใช้หุ่นยนต์ในการเก็บกู้ระเบิด และผ่าตัดรักษาโรค ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะมีประโยชน์มากเพียงไรก็ตาม หากพิจารณาอีกด้านหนึ่งแล้ว คอมพิวเตอร์ก็จอาจจะเป็นภัยได้เช่นกัน หากผู้ใช้ไม่ระมัดระวังหรือนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องดังนั้นในการใช้งานคอมพิวเตอร์ร่วมกันในสังคมในแต่ละประเทศจึงได้มีการกำหนด ระเบียบกฎเกณฑ์รวมถึงกฎหมายที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดคุณธรรม และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ์


กฎหมาย
กฎหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อรองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีการวางนโยบาย
และกำหนดหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในทางการค้า
ทั้งภายในและระหว่างประเทศ
[
http://bowarunya.blogspot.com/2008/03/blog-post_27.html]
กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
เพื่อรองรับสถานะทางกฎหมายการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อระบุหรือยืนยันตัวบุคล
โดยคำนึงถึงความเป็นกลางและความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยี
[
http://bowarunya.blogspot.com/2008/03/blog-post_27.html]
 กฎหมายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
เพื่อรองรับแนวนโยบายพื้นฐานในการพัฒนาชุมชนและการกระจายสารสนเทศให้เท่าเทียมกัน
และทั่วถึงทั้งประเทศลดความเหลื่อมล้ำของสังคม เพื่อนำไปสู่สังคมแห่งปัญญาและการเรียนร
[
http://bowarunya.blogspot.com/2008/03/blog-post_27.html]
กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคล
เพื่อวางหลักเกณฑ์การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคล เช่น ชื่อ นามสกุล อายุ เพศ กำหนดสิทธิให้คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคลที่อาจถูกนำไปประมวลผลเผยแพร่ในทางมิชอบ
ซึ่งจะถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิ
[
http://bowarunya.blogspot.com/2008/03/blog-post_27.html]
กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยในยุคคอมพิวเตอร์ เป็นการกำหนดมาตรการทางอาญา
ในการลงโทษผู้กระทำความผิดต่อระบบงานคอมพิวเตอร์ระบบข้อมูล ระบบเครือข่าย
[
http://bowarunya.blogspot.com/2008/03/blog-post_27.html]
กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อกำหนดสิทธิหน้าที่ และความรับผิดชอบระหว่างบุคลฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการโอนเงิน
ทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างการกระทำผิดจริยธรรมคอมพิวเตอร์
 Preknowledge

1.การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำคาญ

2.การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล

3.การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต

4.การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น